ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

การทำแท้ง

induced abortion

การทำให้แท้งด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจเป็นการทำแ้ท้งด้วยเหตุผลทางการแพทย์ การทำแท้งเพื่อรักษา (Therapeutic Abortion) ซึ่งประเทศส่วนใหญ่มักยินยอมให้ทำ โดยถือว่าเป็นการทำแท้งที่ถูกกฎหมาย (Legal Abortion) ส่วนการทำแท้งด้วยเหตุผลอื่นๆ เช่น ครอบครัวมีฐานะยากจน หรือสตรีที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม หลายประเทศถือว่าเป็นการทำแท้งที่ผิดกฎหมาย (Illegal Abortion) การทำแท้งทำกันมานานแล้ว การทำแท้งโดยผู้ที่มิได้เป็นแพทย์ หรือหมอเถื่อนมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีแบบพื้นบ้าน เช่น การใส่วัสดุ อาจเป็นรากไม้ หรือกิ่งไม้อ่อนใส่ในช่องคลอด หรือการบีบนวดบริเวณมดลูก หรือการกินยา หรือฉีดยาขับเลือด หรือการใส่ของเหลวบางอย่างเข้าไปในมดลูกโดยผ่านทางสายยางที่สอดผ่านปากมดลูกเข้าไป วิธีการเหล่านี้ มีความเสี่ยง ที่จะก่อให้เกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อภายในมดลูกได้มาก เนื่องจากวัสดุหรือของเหลวที่ใส่เข้าไปไม่มีการฆ่าเชื้อ และของเหลวบางอย่างมีพิษด้วยตัีวมันเอง การทำแท้งโดยวิธีที่ถูกต้องในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์อาจปลอดภัยพอสมควร แต่หลังจากนั้นอันตรายจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ การทำแท้งที่วงการแพทย์ใช้อยู่มีหลายวิธี เช่น การขูดมดลูก การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ การปรับประจำเดือน การใช้น้ำเกลือเข้มข้นใส่เข้าไปในถุงน้ำคร่ำ การใช้ยารับประทานเพื่อให้การตั้งครรภ์สิ้นสุด

ดู abortion

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015